การเพาะปลูกผักระบบไฮโดรโปนิกส์ คือระบบการปลูกพืชในน้ำที่มีสารละลายอาหาร พืชอยู่ครบถ้วนทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างปกติพืชไม่มีความเครียดจากการขาดน้ำ
และธาตุอาหารข้อได้เปรียบของการปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์คือ
1. ควบคุมการใช้ธาตุอาหารของพืชได้ง่ายกว่าการปลูกพืชในดิน
2. ลดค่าแรงงานในการเตรียมพื้นที่ปลูกได้มาก
3. ประหยัดน้ำกว่าการให้น้ำกับพืชที่ปลูกทางดิน ไม่น้อยกว่า 10 เท่า
4. ควบคุมโรคในดินได้ง่ายกว่าการปลูกพืชในดินตามปกติ
5. สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกพืชในดินได้ เช่น ดินไม่ดี
หรือบนพื้นปูน
6. ได้ผลผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีคุณภาพดีกว่าการปลูกในดิน
7. ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกพืชในดิน
8.ประหยัดเมล็ดพันธุ์มากกว่าการปลูกแบบใช้ดิน
เมื่อเราทราบถึงข้อได้เปรียบของผักกาดหอมไร้ดินแล้ว เราก็ต้องมีการดูแลให้ผักกาดหอมไร้ดินให้เติบโตอย่างสมบูรณ์เพื่อตอนเก็บเกี่ยวจะได้ ผักกาดหอมที่มีคุณภาพและปลอดภัยในการบริโภคซึ่งถ้าอากาศร้อนจัดโดยเฉพาะอากาศของ
ประเทศไทยค่อนข้างร้อนการดูแลระหว่างเจริญเติบโตจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ การปลูกผักสลัด ในฤดูร้อนนี้ สิ่งที่ต้องควบคุมมากที่สุดก็คือ อุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหาร พยายามรักษาให้อยู่ในระดับไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิน้ำ
มีผลต่อปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำกล่าวคือถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น
ปริมาณออกซิเจนในน้ำก็จะลดต่ำลง ซึ่งจะมีผลต่อการการทำงานของรากพืชทำให้
รากพืชอ่อนแอเป็นสาเหตุของการชักนำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้
(ซึ่งอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือประมาณ 24 - 28 องศา เซลเซียส อากาศร้อนก็เป็นสาเหตุให้ผักกาดหอมมีรสขมเนื่องจากมียางเยอะ)

ภาพที่ 1 การพรางแสง
ที่มา : http://www.nanagarden.com/product/172027

การพลางแสงแปลงปลูกในช่วงเวลา ประมาณ 10.00 -  14.00 น. เพื่อลดการคายน้ำ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของรากพืช และเป็นการช่วยลดอุณหภูมิของน้ำในระบบปลูก   โดยเลือกใช้แสลนพรางแสงไม่เกิน 50% หลีกเลี่ยงการใช้แสลนสีเขียวเพราะมีผล
กระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืชแนะนำให้ใช้แสลนสีดำเนื่องจาก
จะกรองแสงได้ดีกว่าสีอื่นๆใช้ธาตุอาหารเสริมทางใบเนื่องจากในฤดูร้อนพืชจะดูดซึม
ธาตุอาหารทางรากได้ไม่เต็มที่  จึงมักพบอาการขาดธาตุอาหารในช่วงฤดูร้อน
(โดยเฉพาะผักในกลุ่มของสลัดต่างๆ) ดังนั้นจึงควรมีการเสริมธาตุอาหารโดยฉีดพ่นทางใบทุกๆ  7 วัน  ควรปรับค่า pH ของสารละลายไปที่ 6.0 และลดค่า EC ลงให้ต่ำกว่าระดับเดิมที่เคยปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้รากพืชต้องทำงานหนักในช่วงที่อากาศร้อนและแสงแดดจัด เช่น เดิมเคยปลูกสลัดโดยใช้ค่า EC = 1.5 - 1.6  ก็ให้ลดลงเหลือประมาณ 1.2 ถึง 1.4 แทน และให้เสริมธาตุอาหารพืชทางใบแทนเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหาร จนผักกาดหอมมีอายุได้ 30 วันจากการลงรางปลูก หรือ 45 วันจากการเริ่มงอก ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ หากปล่อยไว้นานกว่านี้อาจเหนียวไม่กรอบและมีรสขม

 

ภาพที่ 2  ผักกาดหอมที่พร้อมเก็บเกี่ยว
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ

     
การจำหน่ายหลังจากเก็บจากรางปลูกล้างทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังผึ่งในที่ร่ม
ให้สะเด็ดน้ำแล้วทำการบรรจุถุง ติดตราของผลิตภัณฑ์บงบอกถึงความสะอาดและปลอดสารพิษ
พร้อมออกจำหน่าย จะได้ราคาสูงกว่าผักที่ปลูกทั่วไป
               
      ภาพที่ 3 การล้างผักกาดหอม
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ
       
             
ภาพที่ 4 บรรจุถุงติดตรารับรองคุณภาพความปลอดภัย
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ

 
             
               
    ภาพที่ 5 พร้อมจำหน่าย
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ