การปลูกผักสลัดในถุงดำเป็นการแก้ปัญหาไม่มีพื้นที่สำหรับทำแปลงเกษตรอีกทั้งยัง สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายไม่เกะกะและง่ายต่อการดูแลบำรุงรักษาเราสามารถใช้
ภาชนะอื่นทดแทนถุงดำได้เช่น กระถางถุงต่างๆขวดพลาสติกซึ่งหลังจากหยอดเมล็ด
ประมาณ 15-20 วันสามารถย้ายได้ โดยมีขั้นตอนการปลูกผักกาดหอมในถุงดำ
มีขั้นตอนดังนี้

1.เตรียมดินที่ผสมแล้วใส่ถุง

   
ภาพที่ 1 การเตรียมดินปลูกใส่ถุงดำ
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
 
   
2. ย้ายต้นกล้าจากแปลงเพาะด้วยความระมัดระวัง อาจใช้เสียมเล็กขุดแซะต้นกล้า
ออกมาโดยให้โดยให้มีดินติดรากมาด้วยโดยเวลาย้ายกล้าที่เหมาะสมคือตอนเช้า
บ่ายจนถึงเย็นในช่วงที่มีอากาศครึ้มหรืออากาศเย็น
 
   
ภาพที่ 2 การย้ายกล้าปลูกจากแปลงปลูก
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
   
3.นำต้นกล้ามาใส่ในถุงที่เตรียมไว้ โดยขุดดินในถุงดำเป็นหลุมใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13:13:21รองก้นหลุม 1 ช้อนชา เอาดินกลบบางๆแล้วนำต้นกล้ามาใส่
เอาดินกลบให้อยู่กลางถุงผักกาดหอมต้องการธาตุโปแตสเซียมมากกว่าธาตุ
ไนโตรเจนธาตุโปแตสเซียมทำให้ใบผักกาดบางกรอบไม่มีรอยจุดบนใบผักกาดหอม
ที่ได้ธาตุไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียวจัด รสไม่อร่อยหลังจากนั้น 15 วัน
ใส่อีก 1 ครั้ง
               
ภาพที่ 3 การย้ายกล้าปลูกใส่ถุงดำ
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
           
               
4.ดูแลบำรุงรักษาในช่วงกำลังเจริญเติบโตรดน้ำโดยใช้บัวรดน้ำที่มีรูเล็กๆ ผักกาดหอม
เป็นผักรากตื้น ดังนั้นการให้น้ำจึงควรให้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยระยะเวลา
2 สัปดาห์แรกควรรดน้ำทุกวันเช้า - เย็น โดยรดน้ำเป็นละอองเล็กๆเพื่อไม่ให้น้ำ
ชุ่่มแฉะมากเกินไป
ภาพที่ 4 การดูแลบำรุงรักษาผักกาดหอม
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
       
5.การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากเราดูแลผักกาดหอม ตั้งแต่วันหยอดเมล็ด
จนถึงวันเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 45 วัน การเก็บเกี่ยวใช้มีดคมๆตัดให้ขาด
เพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ต้นผักช้ำล้างน้ำเบาเด็ดใบที่เสียออกผึ่งลมให้สะเด็ดน้ำ
แล้วใช้ปูนแดงทาที่บริเวณรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย

             
ภาพที่ 5 การดูแลบำรุงรักษาผักกาดหอม
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
     
             
6.การบรรจุถุงเพื่อการจำหน่าย ผักกาดหอมถือว่าเป็นผักปลอดจากยาฆ่า
แมลงรับประทานได้อย่างปลอดภัยจึงจำหน่ายได้รวดเร็วหลังจากทาปูนแดง
แห้งแล้วให้บรรจุถุงอย่างระมัดระวัง มิให้ใบฉีกหักเสียหาย พร้อมที่จะจำหน่ายได้
     
ภาพที่ 6 การบรรจุถุงพร้อมจำหน่าย
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ