ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆได้หลายชื่อเช่นภาคเหนือเรียกผักกาดยีภาคกลาง
เรียกผักสลัดเป็นต้น ผักกาดหอมเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลCompositae
มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่าLactuca sativa Linn. มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป มีปลูกในประเทศไทยมานานแล้วผักกาดหอมเป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนของใบเป็นผักจำพวกผักสลัดที่มีคุณค่าทางอาหารสูงโรคและแมลงรบกวนน้อยนิยมปลูกและบริโภคกัน แพร่หลายที่สุดในบรรดาผักสลัดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่นิยมใช้รับประทานเป็นผักสดและ นำมาประกอบอาหารหลายชนิดคนไทยนิยมใช้ผักกาดหอมกินกับอาหารจำพวก
ยำต่างๆลาบผักแกล้มสาคูไส้หมู ข้าวเกรียบปากหม้เป็นต้นประโยชน์ของผักกาดหอม
นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังจัดเป็นอาหาร
ทางตาด้วยโดยการนำมาตกแต่งอาหาร ให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น สำหรับความต้องการผักกาดหอมมีอยู่ตลอดทั้งปีโดยอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลต่างๆตลาดจะมี
ความต้องการผักกาดหอมมาก จึงนับได้ว่า ผักกาดหอมเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทยที่นับวันจะทวีความต้องการเพิ่มมาก เรื่อยๆ ใบผักกาด
หอมแตกออกมาจากลำต้นโดยรอบ มีสีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียวปนเหลืองจนถึงสีเขียวแก่ บางพันธุ์มีสีแดง หรือสีน้ำตาลปนอยู่ ทำให้มีสีแดงบรอนซ์หรือน้ำตาลปนเขียวพันธุ์ที่ห่อเป็นหัวจะมีใบหนา เนื้อใบอ่อนนุ่ม ใบจะห่อหัวอัดกันแน่นคล้ายกะหล่ำปลีใบที่ห่ออยู่ข้างในจะเป็นมัน บางชนิดมีใบม้วนงอเปราะมีเส้นใบเห็นได้ชัด ขอบใบ
มีลักษณะเป็นหยัก ขนาดและรูปร่างของใบผักกาดหอมจะแตกต่างกันตามชนิด
ผักกาดหอมมีสารประกอบ Lactucopirin ที่มีรสขม และรสขมจะมีอยู่มากเมื่อปลูก
ผักกาดหอมในอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง
   

ภาพที่ 1 ผักกาดหอมใบ

ที่มา : นายประทีป สุ่มสุขผู้ถ่ายภาพ


             

1.ผัดกาดหอมใบ เป็นผักกาดหอมที่นิยมปลูกและบริโภคกันทั่วไปในประเทศไทย ลักษณะใบจะกว้างใหญ่และหยิกเป็นคลื่นใบจะเจริญเติบโตไปทางด้านข้าง ไม่ห่อเป็นหัว สีของใบมีตั้งแต่เขียวอ่อนถึงสีแดง แต่พบเห็นใบสีเขียวอ่อนมากกว่าสีอื่น ลักษณะต้นพุ่มเตี้ย ผักกาดหอมใบจะทนต่ออากาศร้อนได้ดีกว่าประเภทอื่นๆ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะปลูกได้ดีในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 21-26.6 องศาเซลเซียส

     
     
     

ภาพที่ 2 ภาพผักกาดหอมห่อหัว
ที่มา : http://gg.gg/45d3o

         

2.ผักกาดหอมห่อหัว ใบมีลักษณะบางกรอบ ขอบใบหยัก ไม่เรียบ ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 5.5-21 องศาเซลเซียส ปลูกได้ดีในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม ผักกาดหอมสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย แต่สามารถปลูกผักกาดหอมได้ดีในดินร่วน ซึ่งมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี พื้นที่ควรได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวันเพราะผักกาดหอมต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ผักกาดหอมเป็นพืชฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น ส่วนระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นถ้าเป็นผักกาดหอมใบจะอยู่ระหว่าง 15.5 - 21 องศาเซลเซียส หากปลูกในสภาพอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้ผักกาดหอมมีรสขมและแทงช่อดอกเร็ว แต่อย่างไรก็ตามผักกาดหอมใบสามารถปลูกได้ตลอดปีการเพาะกล้า ทำการหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรงได้เลยหรือหว่านเมล็ดลงแปลงเพาะแล้วย้ายลงปลูกในภาชนะ
หรือแปลงปลูก


   
 
ขั้นตอนการเพาะกล้าผักกาดหอมทำได้ดังนี้
           

1.เตรียมแปลงปลูกแล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงในดิน พรวนย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด

        ภาพที่ 3 การเตรียมแปลงเพาะกล้าผัก กาดหอม
         ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ

   

2.ใช้ส้อมพรวนย่อยดินให้ละเอียดหลังจากใช้เสียมหรือจอบย่อยหยาบมาแล้ว

   
   
ภาพที่ 4 ใช้ส้อมพรวนย่อยดินให้ละเอียด
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ
   
3. หว่าน เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม    
   
ภาพที่ 5 เพาะในแปลง ในภาชนะ หรือถาดเพาะ ตามที่มี
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ถ่ายภาพ
   

หลังจากเตรียมแปลงเพาะแล้วให้หว่านเมล็ดลงบนแปลงให้กระจายทั่วแปลง แล้วใช้ดินที่ผสมกับปุ๋ยคอกโรยทับบางๆคลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง หากเป็นถาดเพาะให้หยอดหลุมละ 1 เมล็ด รดน้ำให้ชุม หลังจากนั้นดูแลรักษาจนกระทั่งต้นกล้ามีใบจริง 2 - 3 ใบ ให้ทำการถอนแยกต้นกล้าออกบ้าง เพื่อไม่ให้เบียดแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้ต้นกล้าเกิดโรคโคนเน่าและต้นกล้าอ่อนแอได้ เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ 15 - 30 วันหรือมีใบจริง 3 - 4 ใบ จึงทำการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง   วิธีการปลูก โดยใช้มือจับใบเลี้ยงคู่แรกใบใดใบหนึ่งแล้วหย่อนโคนลงไปในหลุม แล้วใช้ดินกลบและกดดินบริเวณโคนต้นเบาๆ จากนั้นใช้บัวฝอยละเอียดรดน้ำรอบๆต้น คลุมดินโคนต้นด้วยฟาง อาจปลูกในแปลงหรือในภาชนะเช่น กระถาง ถุง ขวดพลาสติก หรือถุงดำได้ซึ่งจะกล่าวถึงในเนื้อหาต่อๆไป

   
ประโยชน์ของผักกาดหอม
   

- ผักกาดหอมเป็นผักที่มีแคลอรี่ต่ำ จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
- การรับประทานผักกาดหอมร่วมกับแครอท และผักขม จะช่วยบำรุงสีของเส้นผมให้สวยงามได้
- ผักกาดหอมเป็นผักที่นิยมบริโภคใบ มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นผักที่นิยมบริโภคมากที่สุดใบบรรดาผักสลัด และยังนิยมนำมารับประทานสด หรือนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย สำหรับคนไทยแล้วจะนิยมใช้รับประทานกับอาหารจำพวกยำต่าง ๆ เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู เป็นต้น

   
                         

ภาพที่ 4  การนำผักกาดหอมไปใช้ประโยชน์
ที่มา : http://gg.gg/45h4m

   

-นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารที่ดีแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ตกแต่งอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น
-ปัจจุบันมีการใช้ยาง (Latex) ที่สกัดของผักกาดหอมออกมาจำหน่ายในรูปแบบยา มีทั้งชนิดน้ำและแบบชนิดเม็ด